วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่าย

1.1 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
    1.1.1 Super computer เช่น Cray1, Star100 หรือ ETA10 เป็นต้น 1.1.2 Mainframe computer เช่น IBM 3090, VF, Maspar MP-2 หรือ VAX เป็นต้น 1.1.3 Mini computer เช่น IBM AS/400, VAX 6000 หรือ DEC 8000 เป็นต้น 1.1.4 Micro computer
1.2 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
Computer specification
1MAINBOARD (V + S + L)..
2หน่วยประมวลผล (CPU)Pentium 4 2.8 GHz
3หน่วยความจำหลัก (RAM)128MB
4HDD40GB
5VGAGeforce 2 64 MB
6SOUNDBuild in
7LANBuild in
8USBversion 2.0 จำนวน 4 Port
9MODEM56Kbps V92
10TOWER CASEPOWER SUPPLY 350W & 2 FAN
11CD-ROM52X
12KEYBOARD104 Keys
13MOUSEOptical mouse
14SPEAKER280 W
15MONITOR17"
16FDD1.44 MB
17PRINTERLexmark z605(สมัยนี้ราคา 2000 ก็มีขาย)
1.3 ประโยชน์ของเครือข่าย
    1.3.1 Communication 1.3.2 Device or storage sharing เช่น file, printer หรือ CD-ROM เป็นต้น 1.3.3 Modem or Internet sharing 1.3.4 Multi-player games
1.4 โครงสร้างของเครือข่าย (Topology)
    1.4.1 Star network 1.4.2 Bus network 1.4.3 Ring network 1.4.4 Hybrid network
1.5 ประเภทของระบบเครือข่าย
    1.5.1 LAN (Local area network) 1.5.2 MAN (Metropolitan area network) หนังสือบางเล่มไม่กล่าวถึง MAN 1.5.3 WAN (Wide area network)
      การเชื่อมต่อ internet จากที่บ้าน ไป ISP มี 5 วิธี 1. Dial-up
      56 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
      วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในไทย เพราะใช้งานง่าย เพียงแต่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มี modem เมื่อนำคอมพิวเตอร์ไปวางที่บ้าน ก็หาสายโทรศัพท์ เสียบเข้าช่อง modem ก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ internet ได้แล้ว ถ้าไม่มีเงินซื้อ package ของ ISP ก็สามารถใช้ free internet ของ TOT ได้ โดยเสียค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาท ใช้ได้นาน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เมื่อหลุดก็ต่อใหม่ แต่หลาย ๆ คน บอกว่าติดยาก และช้า ซึ่งผมให้ข้อมูลเลยว่า แล้วแต่บ้าน และผู้ให้บริการโทรศัพท์ของท่าน เพราะของผมเร็วระดับหนึ่ง และติดทุกครั้งเมื่อ connect โดยหมุนไปที่เบอร์ 1222
      Username : U89$0y)9@totonline.net
      Password : j4**9c+p 2. ISDN (Integrated Services Digital Network)
      128 Kbps ผ่านสายโทรศัพท์ดิจิทัล ISDN และใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
      ให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เช่น TOT TT&T หรือ TA ถ้าแถวบ้านท่านไม่มีบริการ ISDN ก็หมดสิทธิ์ใช้บริการนี้ เพราะผู้ให้บริการต้องต่อสายโทรศัพท์แบบพิเศษนี้เข้าบ้านท่าน แต่จะใช้สายโทรศัพท์แบบเก่าไม่ได้ สำหรับความเร็วของ ISDN จะได้ค่อนข้างแน่นอน ที่ 128 Kbps และไม่ได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวนภายนอกมากนัก เพราะระบบ ISDN มีส่วนประกอบ 3 สาย หรือ 3 Channels คือ B-Channels 2 สาย และ D-Channels 1 สาย สำหรับ B-Channels มีความเร็วสายละ 64 Kbps เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ 128 Kbps แต่ D-Channels มีความเร็ว 16 Kbps ซึ่งไม่ใช้รับส่งข้อมูล 3. DSL (Digital Subscriber Line)
      สูงกว่าแบบ ISDN แต่ระบุไม่ได้ และใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ
      ความเร็วของ DSL ขึ้นกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ และข้อตกลงที่จะเลือกใช้การเชื่อมต่อ DSL แบบใด การเชื่อมต่อ DSL จะให้บริการผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา เช่นในลำปางจะมี TT&T เป็นผู้ให้บริการ DSL เพราะผมเห็นร้าน net หลายแห่งใช้ และมีความเร็วที่สูงมาก โดยต่อสายจาก DSL modem เข้ากับ Hub ก็จะทำให้เครื่องในเครือข่ายต่อ internet ได้อย่างรวดเร็ว
      เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี
      ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
      HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line)
      RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line)
      SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line)
      VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line) 4. Cable
      ต้อง share ร่วมกับคนอื่น ความเร็วจึงไม่แน่นอน ผ่านสาย CABLE TV (ในอเมริกาเป็นเรื่องปกติ)
      เชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ Coaxial cable ซึ่งเป็นสาย CABLE TV ซึ่งให้บริการทั้งโทรศัพท์ และชมทีวีร่วมกัน หากต้องการใช้อินเทอร์เน็ต ก็เพียงแต่หา Cable modem มาเชื่อมต่อเพิ่ม และเสียบสายเข้ากับ LAN card ในเครื่องของเรา 5. Satellite
      ความเร็วขึ้นกับแบบของจานดาวเทียม ผ่านจานดาวเทียม
      ปัจจุบัน CS internet คือผู้ให้บริการการเชื่อมต่อแบบจานดาวเทียม ซึ่งมีหลาย ๆ แบบ ตั้งแต่ใช้จานดาวเทียมร่วมกับ modem โดยใช้จานเป็นฝ่ายรับ และ modem เป็นฝ่ายส่งข้อมูล หรือใช้จานดาวเทียมทำหน้าที่ทั้งรับ และส่งข้อมูล สำหรับระบบดาวเทียมในปัจจุบันจะเรียกว่า DBS (Direct Broadcast Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้นิยมมากในพื้นที่ ๆ สายโทรศัพท์เข้าไปไม่ถึง เช่น หมู่บ้านบนภูเขา หรือ อบต. ในพื้นที่ห่างไกลเป็นต้น
1.6 อีเธอร์เน็ต (Ethernet)
    Ethernet คือชื่อวิธีการสื่อสาร หรือ ระเบียบวิธีการ(Protocal) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดย Xerox corporation, Digital equipment corporation(DEC) และ Intel ตั้งแต่ปี ค.ศ.1976 เป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ในช่วงแรก Ethernet มีความเร็วเพียง 10 Mbps แต่ปัจจุบันพัฒนาเป็น Fast ethernet(100 Mbps) และ Gigabit ethernet(1000 Mbps)
    ethernet ใช้เทคนิครับส่งข้อมูล CSMA/CD (Carrier sense multiple access/collision detection) หมายถึง การรับส่งข้อมูลที่ทำได้ครั้งละ 1 คน แต่จะมีการตรวจสอบ หากมีใครใช้สายก็จะไม่ส่ง และถ้าชนก็จะสุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Carrier sense หมายถึง การมี sense ในการถือครอง มีคนใช้อยู่ก็จะไม่แย่ง Multiple access หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้สื่อชุดเดียวกันในการรับส่งข้อมูล Collision detection หมายถึง เมื่อส่งพร้อม ๆ กันอาจชน จึงมีการตรวจสอบ ไม่ให้ชน
1.7 Hub หรือ Switch
    Hub หรือ Switch ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP(Unshieled Twisted Pair แบบ Category 5(CAT5)) หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสาย และ Network adapter card
    Hub เป็นอุปกรณ์ในสมัยแรก ที่ทำงานแบบ broadcast เมื่อเครื่องหนึ่งต้องการส่งสัญญาณไปอีกเครื่องหนึ่ง ตัว hub จะทำหน้าที่ส่งออกไปให้กับทุกเครื่อง ถ้าเครื่องเป็นผู้รับ ก็จะรับข้อมูลไป ถ้าไม่ใช้ก็จะไม่รับ ดังนั้นเมื่อซื้อ hub ขนาด 10 port ที่มีความเร็ว 10 Mbps(Mega Bit Per Second) ความเร็วที่ได้ก็ต้องหาร 10 เหลือเพียง 1 Mbps เมื่อใช้งานจริง หากมีผู้ใช้คนหนึ่งใช้โปรแกรม sniffer คอยดักจับ package ที่ส่งจาก hub ก็จะทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เช่น เนื้อความในจดหมาย เลขบัตรเครดิต username หรือ password ของผู้ใช้คนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับ Hub บางรุ่นจะมีช่อง Uplink สำหรับเชื่อมต่อ Hub อีกตัวหนึ่ง เพื่อขยายช่องสัญญาณ โดยใช้สาย Cross link ในการเชื่อม hub ผ่าน Uplink port โดยปกติ Hub แบบเดิมจะเป็นการเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT หรือมีความเร็วที่ 10 Mbps นั่นเอง
    Switch เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้เครือข่ายที่ใช้ switch มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้ hub และมีความปลอดภัยสูงกว่า มีการพัฒนา switch ให้ทำงานใน Layer 3 ของ OSI ได้ ซึ่งมีความสามารถเป็น IP switching ทีเดียว